เมนู

อรรถกถาโธตกมาณวกปัญหานิทเทสที่ 5


พึงทราบวินิจฉัยในโธตกสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้.
บทว่า วาจาภิกงฺขามิ คือ ข้าพระองค์ย่อมหวังพระวาจาของ
พระองค์. บทว่า สิกฺเข นิพฺพานมตฺตโน พึงศึกษานิพพานเพื่อตน
คือพึงศึกษาอธิศีลเป็นต้นเพื่อดับราคะเป็นต้นของตน. ในนิเทศไม่มีบท
ที่ไม่เคยกล่าว.
บทว่า อิโต คือ แต่ปากของเรา. พึงทราบความในนิเทศ
ต่อไป. บทว่า อาตปฺปํ ความเพียร คือความเพียรเผากิเลส. บทว่า
อุสฺสาหํ ทำความหมั่น คือไม่สยิ้วหน้า. บทว่า อุสฺโสฬฺหึ ทำความ
เป็นผู้มีความหมั่น. คือทำความเพียรมั่น. บทว่า ถามํ ทำความพยายาม
คือไม่ย่อหย่อน. บทว่า ธิตึ ทำความทรงจำ คือทรงไว้. บทว่า วิริยํ
กโรหิ
คือ จงทำความเป็นผู้ก้าว คือทำความก้าวไปข้างหน้า. บทว่า
ฉนฺท ชเนหิ ยังฉันทะให้เกิด คือให้เกิดความชอบใจ.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โธตกะพอใจ สรรเสริญ
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทูลวิงวอนขอความปลดเปลื้องจากความสงสัย
จึงกราบทูลคาถาว่า ปสฺสามหํ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปสฺสามหํ เทวมนุสฺสโลเก คือ ข้าพระ-
องค์เห็นพระองค์ผู้เป็นเทพเที่ยวอยู่ในมนุษยโลก. บทว่า ตนฺตํ นมสฺสามิ
คือ ข้าพระองค์ขอนมัสการพระองค์นั้น. บทว่า ปมุญฺจ คือ ขอพระองค์
จงทรงปลดเปลื้อง.

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไป. บทว่า ปจฺเจกสมฺพุทฺธา ชื่อว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เพราะเป็นผู้ตรัสรู้อริยสัจด้วยตนเอง ถึงการ
รู้แจ้งแทงตลอดอารมณ์นั้น ๆ เฉพาะตัว. บทว่า สีหสีโห คือ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าเป็นดังสีหะยิ่งกว่าสีหะ เพราะไม่ทรงหวาดสะดุ้ง. บทว่า
นาคนาโค คือ เป็นดังนาคยิ่งกว่านาค เพราะไม่มีกิเลส หรือเพราะเป็น
ใหญ่. บทว่า คณิคณี คือ เป็นเจ้าคณะยิ่งกว่าเจ้าคณะทั้งหลาย. บทว่า
มุนิมุนี เป็นมุนียิ่งกว่ามุนี คือ มีความรู้ยิ่งกว่าผู้มีความรู้ทั้งหลาย. บทว่า
ราชราชา เป็นพระราชายิ่งกว่าพระราชา คือเป็นพระราชาผู้สูงสุด. บทว่า
มุญฺจ มํ คือ ขอพระองค์จงปลดเปลื้องข้าพระองค์. บทว่า ปมุญฺจ มํ คือ
ขอพระองค์จงปล่อยข้าพระองค์โดยวิธีต่าง ๆ. บทว่า โมเจหิ มํ ขอพระ-
องค์จงปลดปล่อยข้าพระองค์ คือทำให้หย่อน. บทว่า ปโมเจหิ มํ คือ
ขอพระองค์จงทรงทำให้หย่อนอย่างยิ่ง. บทว่า อุทฺธร มํ ขอพระองค์จง
ยกข้าพระองค์ขึ้น คือยกข้าพระองค์จากเปือกตม คือสงสารแล้วให้ตั้งอยู่
บนบก. บทว่า สมุทฺธร มํ ขอพระองค์จงฉุดชัก คือฉุดข้าพระองค์
โดยชอบแล้วให้ตั้งอยู่บนบก. บทว่า วุฏฺฐาเปหิ คือ ขอให้นำข้าพระองค์
ออกจากลูกศรคือความสงสัย แล้วทำให้อยู่ต่างหากกัน.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงความปลดเปลื้องจาก
ความสงสัยอันยิ่ง ด้วยพระองค์โดยหัวข้อคือการข้ามโอฆะ จึงตรัสคาถา
ว่า นาหํ ดังนี้เป็นอาทิ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า นาหํ สมิสฺสามิ คือ เราไม่อาจไม่สามารถ.
อธิบายว่า เราจักไม่พยายาม. บทว่า ปโมจนาย คือ เพื่อปลดเปลื้อง.
บทว่า กถํกถี คือ ความสงสัย. บทว่า ตเรสิ คือ พึงข้าม.

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไป.
บทว่า น อีหามิ เราไม่อาจ คือไม่ทำความขวนขวาย. บทว่า
น สมิหามิ ไม่สามารถ คือไม่ทำความขวนขวายยิ่ง. บทว่า อสฺสทฺเธ
ปุคฺคเล
กะบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา คือกะบุคคลผู้ปราศจากศรัทธาในพระ-
รัตนตรัย. บทว่า อจฺฉนฺทิเก ผู้ไม่มีฉันทะ คือปราศจากความชอบใจ
เพื่อมรรคผล. บทว่า กุสีเต ผู้เกียจคร้าน คือผู้ปราศจากสมาธิ. บทว่า
หีนวีริเย ผู้มีความเพียรเลว คือผู้ไม่มีความเพียร. บทว่า อปฺปฏิปชฺช-
มาเน
ผู้ไม่ปฏิบัติตาม คือไม่ปฏิบัติตามข้อควรปฏิบัติ.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โธตกะพอใจ เมื่อจะ
สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลวิงวอนขอคำสั่งสอน จึงกล่าวคาถามี
อาทิว่า อนุสาส พฺรหฺเม ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺเม นี้ เป็นคำแสดงถึงพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ว่าเป็นผู้ประเสริฐ. ด้วยเหตุนั้น โธตกะเมื่อจะทูลกะพระผู้มี
พระภาคเจ้า จึงทูลว่า อนุสาส พฺรหฺเม ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ ขอ
พระองค์จงทรงพร่ำสอน. บทว่า วิเวกธมฺมํ ธรรมอันสงัด ได้แก่ธรรม
คือนิพพานอันสงัดจากสังขารทั้งปวง. บทว่า อพฺยาปชฺชมาโน คือ
ไม่ขัดข้องมีประการต่าง ๆ. บทว่า อิเธว สนฺโต เป็นผู้สงบในที่นี้นี่แหละ
คือมีอยู่ในที่นี้. บทว่า อสิโต คือ ไม่อาศัยแล้ว.
สองคาถาต่อจากนี้ไป มีนัยดังได้กล่าวไว้แล้วในเมตตคูสูตรนั่นเอง
ความต่างกันมีอยู่อย่างเดียวในเมตตคูสูตรนั้นว่า ธมฺมํ อิธ สนฺตึ ธรรม
มีอยู่ในที่นี้ดังนี้. แม้ในคาถาที่ 3 กึ่งคาถาก่อน ก็มีนัยดังกล่าวแล้วใน

เมตตคูสูตรนั่นเอง. บทว่า สงฺโค ในกึ่งคาถาต่อไป ได้แก่ฐานะเป็น
เครื่องข้อง อธิบายว่า ติดแล้ว. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ด้วยธรรมเป็นยอด คือ
พระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับที่กล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรกถถาโธตกมาณวกปัญหานิทเทสที่ 5

อุปสีวมาณวกปัญหานิทเทส


ว่าด้วยปัญหาของท่านอุปสีวะ


[242] (ท่านอุปสีวะทูลถามว่า)
ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์เป็นผู้เดียว ไม่อาศัยแล้ว
ไม่อาจข้ามโอฆะใหญ่ได้ ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระสมันต-
จักษุ ขอพระองค์จงตรัสบอกอารมณ์ที่ข้าพระองค์ได้
อาศัยแล้ว พึงข้ามโอฆะได้.

[243] คำว่า เอโก ในอุเทศว่า เอโก อหํ สกฺก มหนฺตโมฆํ
ดังนี้ ความว่า ข้าพระองค์ไม่มีบุคคลเป็นเพื่อน หรือไม่มีธรรมเป็นเพื่อน
ข้าพระองค์อาศัยบุคคลหรืออาศัยธรรมแล้ว พึงข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น
ก้าวล่วง เป็นไปล่วงซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ
ใหญ่ได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เดียว.
คำว่า สกฺก คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศากยราช พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงผนวชจากศากยสกุล แม้เพราะเหตุนี้ จึงชื่อว่า สักกะ.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก นับว่า
มีทรัพย์ แม้เพราะเหตุนี้ พระองค์จึงชื่อว่าสักกะ พระองค์มีทรัพย์เหล่านี้
คือทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ ทรัพย์คือโอตตัปปะ
ทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา ทรัพย์คือสติปัฏฐาน ฯ ล ฯ
ทรัพย์คือนิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้ามั่งคั่ง มีทรัพย์มาก นับว่ามีทรัพย์
ด้วยทรัพยรัตนะหลายอย่างนี้ แม้เพราะฉะนั้น พระองค์จึงชื่อว่า สักกะ.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อาจ ผู้องอาจ มีความสามารถ
อาจหาญ ผู้กล้า ผู้มีความแกล้วกล้า ก้าวหน้า ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว